วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558

รายละเอียดวิชานิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฎก


รายละเอียดวิชานิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฎก

๑. ชื่อรายวิชา  นิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฎก  ชื่อภาษาอังกฤษ  Communication in Tipitaka
๒. รหัสวิชา  ๑๐๑ ๓๑๐                            จำนวนหน่วยกิต ๓ (๓-๐-๖)
                                                                        หมวดวิชา  เฉพาะสาขา
                                                                        ระดับการศึกษา  อุดมศึกษา
๓. อาจารย์ประจำวิชา/ผู้บรรยาย            พระมหาธานินทร์  อาทิตวโร,ดร.
๔. คำอธิบายรายวิชา
            ศึกษาความหมายและขอบข่ายของนิเทศศาสตร์ คำสอนในพระไตรปิฎกที่เกี่ยวกับหลักการ รูปแบบ วิธีการสื่อคำสอนของพระพุทธเจ้า  และสาวก และจริยธรรมกับการสื่อสาร
๕. จุดประสงค์การเรียน
            ๕.๑ เพื่อรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสื่อสารตามแนวนิเทศศาสตร์
            ๕.๒ เพื่อเข้าใจหลักการ รูปแบบ และวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าและพระสาวก
            ๕.๓ เพื่อให้สามารถนำเอาหลักการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในการบรรยายธรรมหรือการให้ความรู้ทางพระพุทธศาสนาได้อย่างเหมาะสม
๖. จุดประสงค์เชิงคุณธรรม
            ๖.๑ มีความสามารถในการแสดงธรรม-บรรยายธรรมได้อย่างถูกต้อง
            ๖.๒ มีความสามารถในการสื่อธรรมกับประชาชนได้ทุกระดับและเป็นไปอย่างเหมาะสมกับสมณภาวะ
            ๖.๓ มีจริยธรรมในการสื่อสารทางพระพุทธศาสนาและศาสตร์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
๗. รายละเอียดของวิชา
 ๗.๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนิเทศศาสตร์ (สัปดาห์ที่ ๑,๒) ๒๔ พ.ย., ๑ ธ.ค. ๕๘)  (อบรมธรรมศึกษา,สอบธรรมศึกษา) ชดเชย ๘,๑๕ ธ.ค. ๕๘
 ๗.๒ แนวคิดและทฤษฎีทางการสื่อสาร  (สัปดาห์ที่ ๓,๔) ๘,๑๕ ธ.ค. ๕๘  ชดเชย ๕ ม.ค. ๕๙
 ๗.๓ บทบาทของนิเทศศาสตร์ในสังคมปัจจุบัน  (สัปดาห์ที่ ๕) ๒๒ ธ.ค. ๕๘  (ปฏิบัติธรรมประจำปี) ชดเชย ๑๒ ม.ค. ๕๙
๗.๔ หลักการสื่อธรรมของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในพระไตรปิฎก  (สัปดาห์ที่ ๖) ๒๙ ธ.ค. ๕๗  (ปฏิบัติธรรมประจำปี) ชดเชย ๑๙ ม.ค. ๕๙
 ๗.๕  ศัพท์เกี่ยวกับการสื่อสาร, วิธีการสื่อธรรมของพระพุทธเจ้า  (สัปดาห์ที่ ๗) ๕ ม.ค. ๕๙ ชดเชย ๒๖ ม.ค. ๕๙
            (สัปดาห์ที่ ๘)  ๑๒ ม.ค. ๕๙ สอบกลางภาค ชดเชย ๒ ก.พ. ๕๙
๗.๖ ทสพลญาณ ๑๐ สำหรับพระพุทธเจ้าผู้สื่อสาร, สารธรรมคือนวังคสัตถุศาสน์
 (สัปดาห์ที่ ๙) ๑๙ ม.ค. ๕๙  ชดเชย ๙ ก.พ. ๕๙
๗.๗ ความใจกว้างของผู้รับสารตามนัยแห่งกาลามสูตร, ความแตกต่างของบุคคลตามนัยแห่งดอกบัว ๔ เหล่า
 (สัปดาห์ที่ ๑๐) ๒๖ ม.ค. ๕๙  ชดเชย ๑๖ ก.พ. ๕๙
๗.๘ วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า  กลวิธีและอุบายประกอบการสอน  (สัปดาห์ที่ ๑๑) ๒ ก.พ. ๕๙  ชดเชย ๒๓ ก.พ. ๕๙
๗.๙ วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า  (สัปดาห์ที่ ๑๒)   ก.พ. ๕๙  ชดเชย ๑ มี.ค. ๕๙
๗.๑๐ วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า   (สัปดาห์ที่ ๑๓) ๑๖ ก.พ. ๕๙  ชดเชย ๘ มี.ค. ๕๙
๗.๑๑ หลักการบริหารเวลาเพื่อการนิเทศธรรมของพระพุทธเจ้าและสรุป แนะแนวข้อสอบ  (สัปดาห์ที่ ๑๔,๑๕) ๒๓ ก.พ. ๕๙  ชดเชย ๑๕ มี.ค. ๕๙

๘. กิจกรรมการเรียนการสอน
            ๘.๑ แนะนำเค้าโครงการบรรยายและขอบข่ายเนื้อหารายวิชา
            ๘.๒ บรรยายเนื้อหาตามเค้าโครงการบรรยายและขอบข่ายเนื้อหารายวิชา
            ๘.๓ อภิปราย-ซักถาม และเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน
            ๘.๔ แนะนำและมอบหมายการศึกษาค้นคว้ารายงานเฉพาะบุคคลและกลุ่ม
            ๘.๕ ศึกษาและทดลองปฏิบัติ-บรรยาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
            ๘.๖ นำเสนอรายงานและการประเมินผลการเรียนรู้
๙. การวัดและประเมินผล
            ๙.๑ จิตพิสัย (ความตั้งใจ ความร่วมมือ มารยาท มนุษยสัมพันธ์
                        ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ)                                               ๑๐        คะแนน
            ๙.๒ ทักษะพิสัย (ความพร้อม ความเชี่ยวชาญในการนำเสนอ
                        หรือแสดงออกในด้านวิชาการ)                                                ๑๐        คะแนน
            ๙.๓ พุทธิพิสัย (ความรู้ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้เอกสาร
                        รายงาน สอบกลางภาค)                                                        ๒๐        คะแนน
            ๙.๔ สอบปลายภาค                                                                         ๖๐        คะแนน
                                                                        รวม                             ๑๐๐      คะแนน
๑๐. หนังสืออ่านประกอบรายวิชา
            ๑. หนังสืออ่านประกอบ
            พระมหาณรงค์  จิตฺตโสภโณ. จิตวิทยาการเผยแผ่. คำบรรยายแก่พระสังฆาธิการกรุงเทพมหานคร : ในวารสารพุทธจักร, ๒๕๒๘.
            พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ (ประสิทธิ์  พฺรหฺมรํสี). วิชาการเทศนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๖.
            พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๓๒.
            พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). การสื่อภาษาเพื่อการเข้าใจสัจธรรม. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา, ๒๕๓๙.
            พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗.
            พระราชวรมุนี (ประยูร  ธมฺมจิตฺโต) และคณะ. พุทธศาสนสุภาษิต ฉบับบันทึกธรรมประจำวัน. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา, ๒๕๒๙.
            พัชนี  เชยจรรยาและเพื่อน. แนวความคิดหลักการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ ช.ข่าวพิมพ์, ๒๕๕๐.
            พุธรัตน์  ประกายดาว. วิธีพูดโน้มน้าวจูงใจ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย, ๒๕๔๙.
            มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,มหาวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. เล่ม ๑-๔๕.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐.
            ----------,มหาวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาฯ. เล่ม ๑-๔๕.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.
            เสนาะ  ผดุงฉัตร.  วาทศาสตร์ศิลปะเพื่อการพูด. กรุงเทพมหานคร : อาทรการพิมพ์,๒๕๔๘.
Welshe, Maurice. Thus Have I Heard. London : Wisdom Publication, 1987.
            Homer. I.B. Milindas  Questions. Vol 1-2 Luzacand Compeny Ltd. 1969.
            ๒. หนังสืออ่านเสริม
            กรรณิการ์  อัศวดรเดชา. การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐.
            ฉัตรวรุณ ตันนะรัตน์. วาทศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๔๔.
            ชลธิชา  กลัดอยู่ และคณะ. การใช้ภาษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย, ๒๕๑๗.
            ชิตาภา  สุขพลำ. การสื่อสารระหว่างบุคคล. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๘.
            ทินวัฒน์  มฤคพิทักษ์. ศิลปะการพูดต่อที่ชุมชน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรไทย, ๒๕๑๖.

            นวม  สงวนทรัพย์. วาทศิลป์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๑๗.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น