วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558

มคอ ๓ วิชานิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฎก ๒/ ๕๘



มคอ ๓ วิชานิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฎก

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา                  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
วิทยาลัยสงฆ์/คณะ/ภาควิชา          คณะพุทธศาสตร์

หมวดที่  ๑  ข้อมูลโดยทั่วไป

๑.รหัสวิชาและรายชื่อวิชา
     ๑๐๑ ๓๑๐  นิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฎก
                        (Communication in Tipitaka)
๒.จำนวนหน่วยกิต
       หน่วยกิต  (๓-๐-๖)
๓.หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
     พุทธศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
๔.อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
พระมหาธานินทร์  อาทิตวโร,ดร. อาจารย์ผู้สอน
๕.ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน
     ภาคการศึกษาที่ ๒/ชั้นปีที่  ๓
๖.รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน  (Pre-requisite) (ถ้ามี)
     ไม่มี
๗.รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมก่อน  (Co-requisite) (ถ้ามี)
     ไม่มี
๘.สถานที่เรียน
     คณะพุทธศาสตร์  วิทยาเขตขอนแก่น  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๙.วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
     ๒   สิงหาคม  ๒๕๕๓






หมวดที่  ๒  จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

๑.จุดมุ่งหมายของรายวิชา
     (๑) เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจความหมายและขอบข่ายของนิเทศศาสตร์
     (๒) เพื่อให้นิสิตสามารถอธิบายความหมายของคำสอนในพระไตรปิฎกเกี่ยว
     (๓)เพื่อให้นิสิตสามารถวิเคราะห์หลักการรูปแบบวิธีการสื่อคำสอนของพระพุทธเจ้าและจริยธรรมการสื่อสาร

๒.วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
     เพื่อให้นิสิตมีความรู้พื้นฐาน  เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้  ความเข้าใจ  ในเรื่องนิเทศศาสตร์ อันเป็นแนวทางในการสื่อธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ  เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้  ควรมีการเปลี่ยนแปลงบทเรียนที่สอดคล้องกับยุคสมัยเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

หมวดที่  ๓  ลักษณะและการดำเนินการ

๑.คำอธิบายรายวิชา
     ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับนิเทศศาสตร์ หลักการขอบข่าย  หลักการสื่อสารตามแนวนิเทศศาสตร์ศึกษาหลักการ รูปแบบและวิธีการสื่อคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่าที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและสามารถนำเอาหลักการนั้นๆมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
.จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
บรรยาย  ๔๘  ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา
สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย
ไม่มีการฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม
การศึกษาด้วยตนเอง ๖ ชั่วโมงต่อสัปดาห์
๓.จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
     - อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเวปไซด์คณะพุทธศาสตร์
     - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล  หรือ  รายกลุ่มตามความต้องการ  ๑  ชั่วโมงต่อสัปดาห์  (เฉพาะรายที่ต้องการ)
หมวดที่  ๔ การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
๑.คุณธรรม  จริยธรรม
     ๑.๑  คุณธรรม  จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
          พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม  จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น  และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  โดยผู้สอนต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม  เพื่อให้นิสิตสามารถพัฒนาคุณธรรม  จริยธรรมไปพร้อมกับการศึกษาเหตุการณ์ทางการเมืองการปกครอง  โดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
          (๑) ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม  จริยธรรม  เสียสละ  และซื่อสัตย์สุจริต
          (๒) มีวินัย  ตรงต่อเวลา  และรับผิดชอบต่อตนเอง  วิชาชีพและสังคม
          (๓) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
          (๔) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
          (๕) เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ  ขององค์กรและสังคม
     ๑.๒  วิธีการสอน
          - บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายต่างประเทศของไทยต่อประเทศเพื่อนบ้าน
          - อภิปรายกลุ่ม
          - กำหนดให้นิสิตหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง
          - บทบาทสมมติ
     ๑.๓  วิธีการประเมินผล
          - พฤติกรรมการเข้าเรียน  และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
          - มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน  อย่างถูกต้องและเหมาะสม
          - ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
          - ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
๒.ความรู้
     ๒.๑  ความรู้ที่ต้องได้รับ
          ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแนวคิดทางนิเทศสาสตร์  หลักนิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฎก  และพุทธวิธีการสอนของพระพุทธเจ้า  รวมทั้งแนวคิดอื่นๆ ที่เกี่ยวกับนิเทศศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นหลักการบริหารเวลาของพระพุทธเจ้า นวังคสัตถุศาสน์ และกาลามาสูตรเป็นต้น
     ๒.๑  วิธีการสอน
บรรยาย  อภิปราย  การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน  การวิเคราะห์กรณีศึกษา  และมอบหมายให้ค้นคว้าหาบทความ  ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  โดยนำมาสรุปและนำเสนอ  การศึกษาโดยใช้ปัญญา  และโครงงาน  Problem  base learning  และ  Student Center  เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
     ๒.๓  วิธีการประเมินผล
          - ทดสอบย่อย  สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี
          - นำเสนอสรุปการอ่านจากการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
          - วิเคราะห์กรณีศึกษา
๓.ทักษะทางปัญญา
     ๓.๑  ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างมีระบบ  มีการวิเคราะห์  สังเคราะห์ประยุกต์ใช้แนวคิดไปสู่การปฏิบัติจริงซึ่งก่อให้เกิดทั้งความเข้าใจและประสบการณ์  
     ๓.๒  วิธีการสอน
          - การมอบหมายให้นิสิตเขียนบทความ  และวิพากษ์ผลการเขียน
          - อภิปรายกลุ่ม
          - วิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับนิเทศศาสตร์และจำลองทฤษฎีสู่การปฏิบัติตามประสบการณ์ของนิสิต
          - การสะท้อนแนวคิดจากการนำแนวคิดมาประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์จริง
     ๓.๓  วิธีการประเมินผล
         สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์  หรือวิเคราะห์แนวคิดในด้านนิเทศศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและปรากฏในพระไตรปิฎก โดยเน้นสถานการณ์จริงมาใช้ในการวัดผลประเมินผล  
๔.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
     ๔.๑  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
          - พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วย
          - พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
          - พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
     ๔.๒  วิธีการสอน
          - ให้นิสิตมีอิสระทางด้านความคิดในการนำเสนอแนวคิดที่ได้จากการศึกษาทฤษฎี สู่การอภิปรายผลเป็นบทความ รายงานกลุ่ม และการวิพากษ์วิจารณ์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับนิเทศศาสตร์
          - มอบหมายรายงานกลุ่ม  และรายบุคคล  หรือ  อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
          - การนำเสนอรายงาน
     ๔.๓  วิธีการประเมินผล
          - การแสดงความคิดเห็นผ่านการวิพากษ์วิจารณ์ในหัวข้อที่กำหนดให้
          - รายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
          - การนำเสนอความคิดไอเดียใหม่ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น
๕.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
     ๕.๑  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
          - พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด  การฟัง  การแปล  การเขียน  โดยการทำรายงาน  และนำเสนอในชั้นเรียน
          - พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
          - พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
          - ทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร  เช่น  การส่งงานทางอีเมลล์ 
          - ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ  เครื่องมือ  และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
     ๕.๒  วิธีการสอน
          - มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  จาก website  สื่อการสอน  e – learning  และทำรายงาน  โดยเน้นการนำตัวเลข  หรือมีสถิติอ้างอิง  จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
          - นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
     ๕.๓  วิธีการประเมินผล
          - การจัดทำรายงาน  และนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
          - การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย

หมวดที่  ๕  แผนการสอนและการประเมินผล
๑.      แผนการสอน
สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรม
ผู้สอน
๑-๒
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนิเทศศาสตร์
-        ความหมายของนิเทศศาสตร์
-        ความสำคัญของการสื่อสาร
-        การสื่อสารในสังคมไทย
-        นิเทศศาสตร์กับประโยชน์ต่อสังคม
-        องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสาร
-        ขอบข่ายของนิเทศศาสตร์
-        กระบวนการสื่อสาร
-        แบบจำลองของการสื่อสาร
-        การสื่อสารกลับ
-PowerPoint
-หนังสือเรียน
-คอมพิวเตอร์

พระมหาธานินทร์        อาทิตวโร,ดร.




๓-๔
- ลักษณะทางประชากรของผู้รับสาร
-อุปสรรคที่มีต่อการสื่อสาร
-การสื่อสารมวลชน
- การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสังคม
- ทฤษฎีเกี่ยวกับนิเทศศาสตร์
- รูปแบบของการสื่อสาร
- ความสัมพันธ์ระหว่าง นิเทศศาสตร์ กับพุทธ
- คุณสมบัติของผู้ส่งสารเชิงพุทธ
- องค์ประกอบของผู้รับสารเชิงพุทธ
- องค์ประกอบของสารตามแนวพุทธ
- บทสรุป
-PowerPoint
-หนังสือเรียน
-คอมพิวเตอร์บรรยาย  ยกตัวอย่าง ประกอบ
อภิปรายกลุ่ม
จากกรณีศึกษา
พระมหาธานินทร์        อาทิตวโร,ดร.
๕-๖
บทบาทของนิเทศศาสตร์ในยุคปัจจุบัน
บทบาทของนิเทศศาสตร์ในการสื่อธรรมะ
บทบาทของนิเทศศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
หลักการสื่อธรรมของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในมหาขันธกะ วินัยปิฎก
- ปฏิจจสมุปบาท
- ธัมมจักกับปวัตตนสูตร
- อนัจฉริยคาถา
- อาทิตตปริยายสูตร
- อันตรายิกธรรม  ฯลฯ
- บทสรุป


-PowerPoint
-หนังสือเรียน
-คอมพิวเตอร์
-บรรยาย 
-ยกตัวอย่าง ประกอบ
จากกรณีศึกษา
พระมหาธานินทร์        อาทิตวโร,ดร.
ศัพท์ที่เกี่ยวกับการสื่อธรรม
- เทศนา, โอวาท, อนุสาสน์, อนุสาสนี
- ธรรมสากัจฉา, ปาฐกถา, ปราศรัย
- สุนทรพจน์ ฯลฯ
- บทสรุป
-นำเสนองานที่มอบหมาย
-ทำคลิปเผยแผ่
-ทำเพาเวอร์พอยท์
พระมหาธานินทร์        อาทิตวโร,ดร.
(ต่อ)
วิธีการสื่อธรรมของพระพุทธเจ้า
- สันทัสสนา
- สมาทปนา
- สมุตเตชนา
- สัมปหังสนา
- บทสรุป

ศึกษาดูงานนอกสถานที่ ที่กำหนด
-สถานทีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
-สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย
พระมหาธานินทร์        อาทิตวโร,ดร.
ทสพลญาณ ๑๐ สำหรับพระพุทธเจ้าผู้สื่อสาร
- ฐานาฐานญาณ
- กรรมวิปากญาณ
- สัพพัตถคามินี ปฏิปทาญาณ
- นานาธาตุญาณ
- นานาธิมุตติกญาณ
- อินทริยปโรปริยัต ตญาณ
- ฌานาทิสังกิเลสาทิ ญาณ
- ปุพเพนิวาสานุสสติ ญาณ
- จุตูปปาตญาณ
- อาสวักขยญาณ
- บทสรุป
บรรยายสรุปผลการศึกษานอกสถานที่ พร้อมเอกสารประกอบ
พระมหาธานินทร์        อาทิตวโร,ดร.
สารธรรมคือนวังคสัตถุศาสน์
- สุตตะ ได้แก่ พระสูตรต่างๆ และ วินัย
-       - เคยยะ ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาผสม
-       - เวยยากรณะ ได้แก่ ข้อความร้อยแก้วล้วนๆ เช่นอภิธรรมปิฎก
-       - คาถา ได้แก่ ข้อความร้อยกรองที่เป็นคาถาล้วนๆ เช่น ธรรมบท เถรคาถา
-       - อุทาน ได้แก่ ข้อความที่เป็นพุทธอุทาน
-       - อิติวุตตกะ ได้แก่ ข้อความที่ตรัสอุเทศแล้วแสดงนิเทศจบลงด้วยบทสรุป (นิคม)
-       - ชาตกะ ได้แก่ ชาดกทั้งหมด
-       - อัพภูติธรรม ได้แก่ พระสูตรว่าด้วยเรื่องอัศจรรย์ต่างๆ
-       - เวทัลละ ได้แก่ ข้อความที่ถามตอบกันไปมา
-       - บทสรุป
บรรยาย  ยกตัวอย่าง ประกอบ
อภิปรายกลุ่ม
จากกรณีศึกษา


พระมหาธานินทร์        อาทิตวโร,ดร.












๑๐-๑๑
ความใจกว้างของผู้รับสารตามนัยแห่งกาลามสูตร
- อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา
- อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา
- อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
- อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
- อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
- อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา
- อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
- อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
- อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
- อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน
- บทสรุป
บรรยาย  ยกตัวอย่าง ประกอบ
อภิปรายกลุ่ม
จากกรณีศึกษา
พระมหาธานินทร์        อาทิตวโร,ดร.
๑๒
ความแตกต่างของบุคคลตามนัยแห่งดอกบัว ๔ เหล่า
- อุคฆฏิตัญญู
- วิปจิตัญญู
- เนยย
- ปทปรมะ
- บทสรุป
บรรยาย  ยกตัวอย่าง ประกอบ
อภิปรายกลุ่ม
จากกรณีศึกษา
พระมหาธานินทร์        อาทิตวโร,ดร.
๑๓
วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า
- สอนด้วยอุปมา
- สอนด้วยการตั้งประเด็นให้คิด
- สอนด้วยการให้คาถา
- สอนด้วยการสื่อภาพนิมิต
- สอนด้วยปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่นฝนตก ฟ้าร้อง
- บทสรุป
บรรยาย  ยกตัวอย่าง ประกอบ
อภิปรายกลุ่ม
จากกรณีศึกษา

พระมหาธานินทร์        อาทิตวโร,ดร.





๑๔
วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า 
- สอนด้วยปัญหาอะไรเอ่ย
- สอนด้วยนิทานชาดก
- สอนด้วยการกระทำเป็นตัวอย่าง
- สอนแบบสอบถามตอบอย่างสักกปัญหสูตร
- จริยธรรมกับการสื่อสาร
- บทสรุป
บรรยาย  ยกตัวอย่าง ประกอบ
อภิปรายกลุ่ม
จากกรณีศึกษา
พระมหาธานินทร์        อาทิตวโร,ดร.
๑๕
หลักการบริหารเวลาเพื่อการนิเทศธรรมของพระพุทธเจ้า
- ความหมายของเวลา
- ธรรมชาติของเวลา
- การจัดสรรเวลา
- การจัดสรรเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
- อุปสรรคในการบริหารเวลา
- พุทธกิจของพระพุทธเจ้า
บรรยายสรุปเนื้อหาและแนะแนวข้อสอบ
พระมหาธานินทร์        อาทิตวโร,ดร.
๑๖
สอบปลายภาค



๒.     แผนการประเมินผลการเรียนรู้

ที่
วิธีการประเมิน
สัปดาห์ที่ประเมิน
สัดส่วนของการประเมิน
สรุปศึกษางานนอกสถานที่
นำเสนองานที่มอบหมาย
สอบปลายภาค
ระหว่างภาคการศึกษา
๑๖
๒๐  %
๒๐  %
๓๐  %
วิเคราะห์กรณีศึกษา  ค้นคว้า การนำเสนอรายงาน
การทำงานกลุ่มและผลงาน
การอ่านและสรุปบทความ
การส่งงานตามที่มอบหมาย
ตลอดภาคการศึกษา
๒๐  %
การเข้าชั้นเรียน
การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน
ตลอดภาคการศึกษา
๑๐  %


หมวดที่  ๖  ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

๑.เอกสารและตำราหลัก
ปรมะ สตะเวทิน. หลักนิเทศศาสตร์. จำรัสการพิมพ์, ๑๙๘๙
พัชนี   เชยจรรยาและเพื่อน. แนวความคิดหลักการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ข่าวพิมพ์,  ๑๙๙๕.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ  เล่ม ๑ ๔๕,
          กรุงเทพฯ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐.
______________. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑-๔๕. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลง
          กรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.
๒.เอกสารและข้อมูลสำคัญ
เมตตา กฤตวิทย์. แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์. ชมรมวิจัยและพัฒนานิเทศศาสตร์, ๒๕๓๐.
สุรัตน์ ตรีสุกล. หลักนิเทศศาสตร์. ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา,๒๕๔๘.
ชลธิรา  กลัดอยู่ และคนอื่นๆ. การใช้ภาษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย, ๒๕๑๗.
ทินวัฒน์  มฤคพิทักษ์, ศิลปะการพูดต่อที่ชุมชน, กรุงเทพฯ โรงพิมพ์อักษรไทย, ๒๕๑๖.    
นวม สงวนทรัพย์, พ.อ. วาทศิลป์, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย,๒๕๑๗.         
นิพนธ์  ศศิธร. หลักการพูดต่อที่ชุมชน. กรุงเทพฯ :ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๒๑.
ปรีชา  ช้างขวัญยืน. ศิลปะการเขียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิชาการ, ๒๕๒๕.                         
๓.เอกสารและข้อมูลแนะนำ
Blundel, Richard. Effective business communication : principles and  practice for the information
             age. London : Prentice Hall, ๑๙๙๘.
Hancock, John C . An introduction to the principles of communication theory. New York : McGraw-
             Hill, ๑๙๖๑.  
Hershberger, W. D. Principles of communication systems . New York :   Prentice-Hall, ๑๙๕๕.
Homer, I.B, Milindas Questions, Vol. ๑-๒. London: Luzac and Company Ltd,  ๑๙๖๙, (S.B.B Vol. XXIII).
Redmond, Mark V. Communication : theories and applications. Boston,  MA. : Houghton Mifflin
             Company, ๒๐๐๐.                    
Steinberg, Charles S . Mass media and communication. New York : Hastings House, ๑๙๗๒.
Taub, Herbert. Principles of communication systems. New York : McGraw-Hill, ๑๙๘๖.            
Walshe, Maurie. Thus Have I Heared. London: Wisdom Publication, ๑๙๘๗.

หมวดที่  ๗  การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

๑.กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
     การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้  ที่จัดทำโดยนักศึกษา  ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
          - การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
          - การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
          - แบบประเมินผู้สอน  และแบบประเมินรายวิชา
          - ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
๒.กลยุทธ์การประเมินการสอน
     ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน  ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
          - การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมการสอน
          - ผลการสอน
          - การทบทวนผลประเมินการเรียนรู้
๓.การปรับปรุงการสอน
     หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  ๒  จึงมีการปรับปรุงการสอน  โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
          - สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
          - การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
๔.การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
     ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา  มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ  ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา  ได้จาก  การสอบถามนักศึกษา  หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา  รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย  และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา  มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
          - การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนิสิตโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ  ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
          - มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา  โดยตรวจสอบข้อสอบ  รายงาน  วิธีการให้คะแนน  และการให้คะแนนพฤติกรรม
๕.การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
     จากการประเมิน  และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
          - ปรับปรุงรายวิชาทุก ๓ ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ ๔
          - เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน  เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือแนวคิดใหม่ ๆ